น้ำมันพืชมีหลากหลายชนิดจนบางครั้งทำก็เลือกไม่ถูกกับการประกอบอาหารว่าเราควรใช้น้ำมันพืชชนิดใด ประกอบอาหารประเภทไหนอย่างไร โดยทั่วไปแล้วน้ำมันพืชประกบอาหารทุกชนิดนั้นจะไม่มีคอเลสเตอรอลอ แต่จะมีในส่วนของกรดไขมันที่ต่างกันออกไป ซึ่งกรดไขมันที่ว่านี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ กรดไขมันกรดตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว และกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง โดยที่สัดส่วนของกรดไขมันแต่ละตัวนั้นจะมีคุณสมบัติของน้ำมันที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อสุขภาพต่างกันนั้นเอง

น้ำมันพืชแต่ละชนิด

น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก – นั้นจะเป็นตัวที่ทำให้เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL-C) ในเลือด พบได้ในน้ำมันพืชบางชนิด ได้แก่

  1. น้ำมันปาล์ม เป็นน้ำมันที่อุดมไปด้วยวิตามินอี นอกจากจะไม่มีกลิ่นหืนแล้วยังให้ความร้อนที่เร็วกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ จึงเหมาะสำหรับใช้ทอด เพราะน้ำมันปาล์มนั้นช่วยให้การทอดนั้นช่วยให้มีความกรอบนอกนุ่มใน
    2.น้ำมันมะพร้าว เนื่องด้วยน้ำมันมะพร้าวนั้นมีกลิ่นที่ค่อนข้างชันเจนและแรงกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ ทำให้ไม่นิยมนำมาประกอบอาหารเท่าที่ควร โดยส่วนใหญ่มักนำไปผลิตเป็นสบู่หรือมาการีน แต่อย่างไรก็ตามน้ำมันมะพร้าวนั้นสามารถรับประทานได้และยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวมาก – นั้นจะเป็นตัวที่ทำให้ช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL-C) และเพิ่มหรือคงระดับคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL-C) พบได้ในน้ำมันพืชบางชนิด ได้แก่

  1. น้ำมันมะกอก นอกจากจะมีสารต้านอนุมูลอิสระแล้วยังช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในร่างกายได้อีกด้วยและยังมีวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน น้ำมันมะกอกจึงเหมาะนำมาใช้เป็นน้ำสลัดมากกว่าที่จะนำไปปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อน เพราะเมื่อน้ำมันมะกอกเมื่อนำไปประกอบอาหารโดยผ่านความร้อนน้ำสามารถเกิดควันได้ง่ายกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ
  2. น้ำมันคาโนล่า เป็นน้ำมันพืชชนิดหนึ่งที่สกัดมาจากเมล็ดของต้นคาโนล่า เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ เพราะสามารถลดปริมาณไขมันชนิดที่เป็นอันตรายภายในเลือด อย่างไขมันทรานส์ ไตรกลีเซอไรด์ และอุดไปด้วยวิตามินอี ซึ่งน้ำมันคาโนล่านั้นสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายรูปแบบทั้งผัดหรือสามารถใช้แทนน้ำมันสลัดได้
  3. น้ำมันรำข้าว สามารถทนความร้อนได้สูง จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้ในการผัดหรือการทอด นอกจากนี้ยังมีวิตามินอี และสารโอรีซานนอล ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติซึ่งไม่พบในน้ำมันพืชชนิดอื่นอีกด้วย

น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งมาก – นั้นจะเป็นตัวที่ทำให้ลดทั้งคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL-C) และตัวดี (HDL-C) พบได้ในน้ำมันพืชบางชนิด ได้แก่

  1. น้ำมันทานตะวัน อุดมไปด้วยวิตามินอีและมีกรดไลโนเลอิกสูง สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ที่ช่วยสร้างสมดุลย์ของไขมันในร่างกาย แต่เมื่อผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูงนั้นจะก่อให้เกิดสารอนุมูลอิสระได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการผัด หรือทำน้ำสลัด แต่ไม่เหมาะที่จะนำไปทอดอาหาร
  2. น้ำมันถั่วเหลือง มีกรดไลโนเอลิกสูงและยังอุดมไปด้วยวิตามินอี เมื่อผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูงนั้นจะก่อให้เกิดสารอนุมูลอิสระได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการผัด แต่ไม่เหมาะสำหรับการนำไปทอด
  3. น้ำมันข้าวโพด มีวิตามินอี วิตามินเอ และอุดมไปด้วยกรดไลโนเลอิก เมื่อผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูงนั้นจะก่อให้เกิดสารอนุมูลอิสระได้ง่าย นอกจากนี้ยีงทนความร้อนได้สูง จึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการผัด