กินดึกอ้วนไหม

ความกังวลของหลายคนที่อยากคุมน้ำหนักนั้นก็คือเรื่องการกิน หลายคนมักคิดว่าการกินอาหารมื้อสุดท้ายยามดึกนั้นทำให้อ้วน ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าเวลาดึกในที่นี้ หมายถึงอะไร อาหารมื้อดึกในที่นี้จะช่วงที่อยู่เวลา 4 ทุ่มขึ้นไปจนถึงเช้า โดยช่วงเวลานี้ควรเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายควรได้รับการนอนหลับพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายของเราได้มีการซ่อมแซ่มส่วนที่สึกหรอ ฟื้นฟูร่างกายทั้งภายนอกและระบบภายในร่างกายได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ในช่วงเวลาหลัง 4 ทุ่มยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายมีการหลั่ง Growth Hormones ออกมาซึ่ง Growth Hormones เป็นฮอร์โมนการเจริญเติบโตที่ผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองและส่งเข้าสู่กระแสเลือดโดยโกรทฮอร์โมนนั้มีหน้าที่สำคัญในการเจริญเติบโตของร่างกายนั้นเอง

การกินดึกทำให้อ้วนจริงไหม

ความเป็นจริงแล้วเวลาในการกินไม่ส่งผลให้อ้วนขึ้น แต่สิ่งที่ทำให้อ้วนขึ้นนั้นก็คือ ปริมาณหรือประเภทอาหารที่กินเข้าไปในแต่ละวัน ฉะนั้นหากเรากินอาหารมื้อดึกอย่างถูกต้องนั้นไม่สามารถทำให้เราอ้วน การกินอาหารที่ถูกต้องนั้นก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าร่างกายของคนเรานั้นมีความต้องการพลังงานจากอาหารต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ เพศ น้ำหนักและส่วนสูง เนื่องจากร่างกายจะมีปริมาณกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกายที่ต่างกัน นอกจากนี้กิจกรรมในการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ก็แตกต่างเช่นเดียวกัน หรือก็คือการที่เรากินอาหารเข้าไปน้อยกว่าพลังงานใช้ก็จะไม่ทำให้อ้วน แต่หากเรากินเยอะว่าที่ร่างกายต้องใช้พลังงานก็จะทำให้อ้วน ซึ่งก็คือหลักการ Input<Output ฉะนั้นร่างกายของเราจะอ้วนขึ้นหรือผอมลงนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ร่างกายต้องการกับการเผาผลาญของร่างกายที่เหมาะสมกัน

กินดึกไม่ทำให้อ้วนก็จริง แต่ต้องระวังเรื่องปัญหาสุขภาพที่อาจจะตามมาภายหลัง
เราควรเว้นระยะห่าง 4 ชั่วโมงหลังการกิน เนื่องจากร่างกายต้องใช้เวลาย่อยอาหารประมาณ 2-3 ชั่วโมง หากเรานอนหลับหลังกินอาหารทั้งๆ ที่ร่างกายกำลังย่อยอาหารอยู่นั้นจะส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนในเวลาต่อมา เพราะฉะนั้นไม่ควรที่จะนอนหลับหลังกินอาหารทันที

การคำนวณหาพลังงานที่เหมาะสมกับร่างกายต่อวันคิดจาก Basal Metabolic Rate (BMR) อัตราการความต้องการเผาผลาญของร่างกายในการชีวิตประจำวัน หรือจำนวนแคลอรี่ขั้นต่ำที่ร่างกายต้องการใช้ในชีวิตแต่ละวัน ปัจจัยหลักๆ ก็คือ อายุ เพศ น้ำหนักและส่วนสูง โดยมีการคำนวณ BMR ตามนี้

  • ผู้ชาย BMR = 66 + (13.7 X น้ำหนักตัวปัจจุบันเป็นกิโลกรัม) + (5 x ส่วนสูงปัจจุบันเป็นเซนติเมตร) – (6.8 x อายุปัจจุบัน)
  • ผู้หญิง BMR = 665 + (9.6 x น้ำหนักตัวปัจจุบันเป็นกิโลกรัม) + (1.8 x ส่วนสูงปัจจุบันเป็นเซนติเมตร) – (4.7 x อายุปัจจุบัน)
    ค่าที่ได้จากการคำนวณก็คือพลังงานที่ร่างกายควรได้รับอย่างน้อยต่อวัน